[ชมฟรี]ร้อยเรื่องราวของรอยสัก กับนิทรรศการ “สักสี สักศรี: ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน”


เที่ยวง่ายๆในเมืองกรุง มาชมงานศิลป์กับนิทรรศการ “สักสี สักศรี: ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” ที่มิวเซียมสยาม นานๆทีจะได้มาพิพิธภัณฑ์ ก็ช่วยให้จิตใจเราผ่อนคลายไปกับงานศิลป์ สัมผัสความหมายที่ซ่อนอยู่ภายในผลงานแต่ละผลงานที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้นำมาจัดแสดงค่ะ


มาเที่ยวชมนิทรรศการ “สักสี สักศรี: ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” ณ มิวเซียมสยาม ซึ่งเป็นนิทรรศการแสดงเรื่องราวของรอยสัก ความหมายของรอยสักแบบต่าง ๆ



ภายในงานจะเเบ่งเป็น 3 โซน

โซนแรก เป็นนิทรรศการผลงาน และข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรอยสัก
ซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาในรูปของศิลปะวัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญา มาจัดแสดงเป็นวัตถุ บรรยากาศด้านในมีหุ่นโชว์ที่มีรอยสักแบบในสมัยก่อนจริงๆ ให้เราศึกษาเเละเรียนรู้ความหมายของรอยสักนั้นๆค่ะ
ในประวัติศาสตร์รอยสัก มีความหมายที่สื่อถึงเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความรับผิดชอบต่อสังคม
ในลวดลายของรอยสัก มีมากมายหลากหลายรูปแบบเปลี่ยนแปลงตามชนเผ่า ความเชื่อ ประเทศต่าง ๆ และมีความหมายแตกต่างกันออกไปด้วย






มองไปด้านบนจะเห็นสัญลักษณ์รูปรอยสักในแบบต่างๆห้อยเรียงรายพร้อมกับด้ายสีขาวที่สื่อถึงสวรรค์ค่ะ



ศิลปะภาพผ้าทอ


ปะลู
ในสมัยก่อนรอยสักลายปะลู จะนิยมสักด้านหลังเหนือขาพับ ชาวปะกาเกอะญอ ความเชื่อที่ว่า ปะลู เป็นตัวที่นำพาวิญญาณคนตายข้ามแม่น้ำไปยังภพภูมิที่ดีค่ะ




ในนิทรรศการ “สักสี สักศรี: ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” ได้รวบรวมเรื่องราวของรอยสักจาก 3 ชาติพันธุ์ ทั้งของไทยและไต้หวัน ดังนี้

  • ลายสักขาลาย ล้านนา
ลายสักขาลาย ที่มีความหมายถึงขนบธรรมเนียมกลุ่ม ในกลุ่มผู้ชายล้านนา อันเป็นเครื่องหมายของการแสดงความกล้าหาญ ความเป็นลูกผู้ชาย และความอดทน ผ่านการสักลายรูปสัตว์หิมพานต์ ตามคติความเชื่อจากพระพุทธศาสนา


  • ลายสักหน้า ไท่หย่า
การสักหน้าของชาวไท่หย่า มีความหมายถึงการเป็นชายชาตินักรบ มีความแข็งแกร่งและกล้าหาญ หากเป็นผู้หญิงหมายความถึง การเป็นสตรีที่มีความสามารถในการถักทอ นอกจากนี้ ยังแฝงด้วยคติความเชื่อหลังความตาย ว่าผู้มีรอยสักจะสามารถข้ามสะพานแห่งสายรุ้ง เพื่อก้าวเข้าสู่โลกแห่งวิญญาณและได้พบกับบรรพบุรุษ


  • ลายสักมือและตัว ไผวัน
ลายสักมือของชาวไผวัน คือสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศ ศักดินา สถานะทางสังคม และความรับผิดชอบ โดยขนบที่มีความพิถีพิถันแล้ว ผู้ที่จะสามารถสักได้ ต้องเป็นหัวหน้าเผ่า และสมาชิกในครอบครัวหัวหน้าเผ่า เท่านั้นที่จะสามารถสักลายพิเศษนี้ได้


โซนที่สองภาพยนต์สั้น
ภาพยนตร์สั้นที่อธิบายและบอกเล่า ถึงมรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ สื่อสารประวัติศาสตร์กระแสรองผ่านศิลปะการสักลาย ให้กลุ่มคนรุ่นใหม่และประชาชน เข้าใจเรื่องราวและขนบธรรมเนียมการสักลายมากยิ่งขึ้น




มีการจัดแสดงเครื่องมือที่ใช้สำหรับการสัก แบบต่างๆ





มีมุมที่ให้เราได้ลองประทับรอยสักแบบชาวไผวันกันด้วยค่ะ



รอยสักยังสื่อถึงระบบชนชั้นทางสังคมในกลุ่มไผวัน ถ้าบางคนพยายามที่จะสักเกินกว่าสถานะของตนเองก็จะถูกนินทาและไล่ออกจากชุมชนค่ะ
เรามาลองปั๊มลายแบบชาวไผวันกันหน่อย


ผลงานออกมาดูใช้ได้เลยทีเดียว..555


โซนสุดท้ายจะเป็นกิจกรรมเวิร์คชอป ให้เราได้ระบายสีภาพ และทำโปสการ์ดเป็นที่ระลึกเอากลับบ้านกันค่ะ








ทำโปสการ์ดสนุกๆสามารถนำกลับบ้านเป็นที่ระลึกได้ด้วย




นิทรรศการ “สักสี สักศรี: ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” ช่วยให้เราเข้าใจศิลปะที่เรียกว่ารอยสักมากยิ่งขึ้นค่ะ และเปลี่ยนมุมมองต่อผู้ที่สัก แม้ในสังคมไทยคนที่สักอาจจะไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับ แต่รอยสักสำหรับบางคนนั้นมีความหมาย เเละเรื่องราว ความเชื่อค่ะ ซึ่งที่ประเทศไต้หวันการสักที่มีมาเเต่โบราณก็เริ่มมีกลุ่มผู้ที่เห็นคุณค่า เเละอนุรักษ์ไว้เเล้วค่ะ

นิทรรศการ “สักสี สักศรี: ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” สามารถเข้าชมได้จาก 2 ทาง คือ
1. จากลานจอดรถ หันหลังก็จะพบกับตึกของพิพิธภัณฑ์ สีเหลืองให้สังเกตร้าน Muse cafe By D'ORO เดินเข้ามาด้านในจะมีทางเข้าชมนิทรรศการอยู่ค่ะ
2. เดินเข้าทางหน้าตึก ที่มีสนามหญ้า เข้าไปยังตึกสีเหลืองของพิพิธภัณฑ์ได้เลย (ทางนี้คือเส้นทางที่ขึ้นมาจาก MRT สนามไชย)

ราคา

สำหรับค่าเข้างานฟรี! นะคะ
และสามารถซื้อบัตรเพื่อเข้าชมนิทรรศการถาวร ชุด ถอดรหัสไทย ซึ่งเป็นนิทรรศการชุดหลักของมิวเซียมสยามได้ค่ะโดยราคาบัตรอยู่ที่
  • นักเรียน นักศึกษา 50 บาท
  • ผู้ใหญ่ 100 บาท
  • ชาวต่างชาติ 300 บาท
หากมาเป็นหมู่คณะ 4 คนขึ้นไป ได้ลดอีก 50% ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

สุดท้ายอยากเชิญชวนทุกท่าน เด็กนักเรียนคนรุ่นใหม่ มางาน นิทรรศการ “สักสี สักศรี: ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” กันนะคะ

นิทรรศการ “สักสี สักศรี: ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน”
Tattoo Color, Tattoo Honor
เริ่มตั้งแต่วันนี้ – 27 ตุลาคม 2562
ณ อาคารนิทรรศการ ชั้น 1 สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

พิกัด

https://g.page/museumofsiam?share

ติดตามพวกเราได้ที่ : แล้วแต่ตัว
รีวิวอื่นๆ: คลิก
Previous
Next Post »